โรคและแมลงศัตรูที่ทำความเสียหายแก่ฟักทอง

ปัญหาของการเกิดโรคในฟักทองเป็นสิ่งที่ไม่สร้างความลำบากใจให้เกษตรกรมากนัก หากมีการจัดการระบบการปลูกที่ดี โรคต่างๆ ก็ไม่สามารถทำความเสียหายได้ เช่น การเตรียมดิน การปลูกที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรครากเน่า-โคนเน่าได้ โดยการใช้โดโลไมท์โรยในแปลงระหว่างการเตรียมแปลง ใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุยเพื่อให้รากทำงานได้ดีขึ้น การไม่ปลูกพืชตระกูลแตงซ้ำที่กันบ่อยๆ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดินสลับการปลูกฟักทองหรือพืชตระกูลแตง การเกิดโรคทางใบ ได้แก่ โรคราน้ำค้าง ที่มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือการให้น้ำแบบพ่นฝอย วิธีแก้ไขโดยการตัดต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ให้น้ำแบบพ่นฝอย ใช้สารป้องกันโรคพืช เช่น แอนทราโคล ปริมาณ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร, โรคราแป้งมักระบาดรุนแรง เมื่อสภาพอากาศเย็น ใบพืชแห้งในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ปัญหาแมลงศัตรูฟักทองนั้นมีไม่มากนัก เพราะใบและก้านที่มีขนช่วยในการป้องกันภัยจากแมลงได้ดี

เทคนิคการช่วยผสมเกสร

ฟักทอง จะมีดอกสีเหลืองทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียจะเป็นดอกเดี่ยวที่เกิดบริเวณมุมใบ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 เซนติเมตร มีลักษณะเหมือนผลฟักทองขนาดเล็ก ส่วนของยอดเกสรเพศเมียมี 2-5 แฉก การเจริญเติบโตในระยะแรกการแสดงดอกของฟักทองจะแสดงดอกเพศผู้ ส่วนดอกเพศเมียจะมีตั้งแต่ ข้อที่ 12-15 ดอกที่เกิดปลายเถาและเถาแขนงมักเป็นดอกเพศเมีย ดังนั้น จึงต้องการช่วยผสมเกสรโดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัดหรือแมลงช่วยผสมเกสร หรือให้ผู้ปลูกช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผลที่ดี เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลก็จะให้ผลอ่อน  ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป ดอกฟักทองจะบานแค่ 1 วัน ในช่วงเช้ามืดพอแดดแรงช่วง 09.00 น. เป็นต้นไปก็จะเริ่มหุบ หากจะผสมเกสรควรเริ่มผสมในช่วงเช้าๆ เพราะเมื่อบ่ายดอกฟักทองจะเริ่มเหี่ยวแล้วจะเฉาตายในวันรุ่งขึ้น ดอกก็จะเฉาตายไป สำหรับเกษตรกรที่ปลูกฟักทองในเชิงพาณิชย์, ปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริมหรือปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีความจำเป็นจะต้องผสมเกสรและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดอกของฟักทอง ดอกเพศเมียและเพศผู้จะบานในตอนเช้า จะบานในช่วงเวลา 03.30-06.00 น. อับเรณูจะแตกระหว่าง เวลา 21.00-03.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ 16 ชั่วโมง หลังอับเรณูแตกยอดเกสรเพศเมียพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 […]

การปลูก

การปลูกแบบหยอดเมล็ด…ก่อนปลูกขุดหลุมปลูก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว หยอดเมล็ด 3-5 เมล็ด กลบด้วยดินผสมละเอียด หรือขี้เถ้าแกลบดำก็ได้ ลึก 2.5-5 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวันเช้าและเย็น ประมาณ 3-5 วัน ต้นกล้าจะงอกพ้นจากดินให้เกษตรกรสังเกตและช่วยแหวกฟางข้าวที่คลุมแปลงที่หลุมปลูกออก ช่วยไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการงอกของต้นกล้าฟักทอง เมื่อต้นกล้าฟักทองมีใบจริง 2-3 ใบ ควรถอนเอาต้นที่อ่อนแอดูแล้วไม่แข็งแรงทิ้ง เหลือต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียง 1 ต้น ต่อหลุม การปลูกโดยการเพาะกล้า…นำเมล็ดฟักทองล้างน้ำสัก 1-2 รอบ จากนั้นแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้สัก 30 นาที จากนั้นนำเมล็ดไปห่อไว้ในผ้าขาวบาง นำเมล็ดไปบ่มไว้ในกล่องพลาสติกใส หรือกระติกน้ำเก่า 3-5 วัน เมล็ดจะแตกรากออกมาเล็กน้อย จึงค่อยๆ ย้ายเมล็ดนำไปเพาะในถาดเพาะกล้าที่ใส่วัสดุเพาะกล้า (เช่น มีเดีย) รดน้ำ 10-12 วัน หรือฟักทองมีใบจริง 2-3 ใบ จึงย้ายปลูกได้

เกร็ดความรู้

วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองนะคะ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟักทองมาประกอบอาหาร อาจจะเหลือเปลือกบางๆ เอาไว้ทานกรุบๆ บ้างก็ได้ นอกจากนี้ ใครที่อยากทานฟักทองเพื่อลดความอ้วน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ก็อย่าเผลอทานฟักทองแกงบวด ฟักทองสังขยาล่ะ เพราะเป็นขนมที่มีน้ำตาลสูง แนะนำให้ต้ม หรือนึ่งทาน ปั่นทานกับผักผลไม้อื่นๆ หรือทำซุปฟักทอง ฟักทองผัดไข่ทานเป็นอาหารคาวน่าจะดีกว่าครับ

ประโยชน์ของ ฟักทอง

10 ประโยชน์ของ “ฟักทอง” ฟักทอง เป็นหนึ่งในผักที่มีสีเหลืองออกส้ม ที่ช่วยบำรุง และรักษาสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทีช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง ชุ่มชื่น ชะลอรอยเหี่ยวย่น เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน ไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหลอดเลือด และหัวใจ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานอย่างเป็นปกติ จากกากใยอาหารที่มีอยู่สูง ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ป้องกันการเกิดโรคนิ่ว

thThai